top of page
หน้าปก-09.png

รู้จักร่างกายของคุณดีขึ้นด้วยการ ตรวจ DNA

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงดูแข็งแรงและอายุยืนยาวกว่าคนอื่น? คำตอบอาจซ่อนอยู่ใน DNA ของคุณ การ ตรวจ DNA เหมือนกับการตรวจสุขภาพล่วงหน้า ช่วยให้คุณรู้ล่วงหน้าว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรได้บ้างในอนาคต เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนป้องกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพได้อย่างตรงจุด ผ่านการตรวจง่าย ๆ เพียงแค่ใช้  “น้ำลาย”

ทำไมต้องตรวจ DNA?

  • รู้ตัวก่อน: รู้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ล่วงหน้า

  • ป้องกันได้: ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค

  • ดูแลสุขภาพได้ตรงจุด: ดูแลร่างกายตามความต้องการเฉพาะบุคคล

  • ​มีสุขภาพที่ดีในระยะยาว: ชะลอวัยและป้องกันโรคเรื้อรัง

Care Series ตรวจ DNA.jpg

ตรวจ DNA จากพันธุกรรม วางแผนสุขภาพก่อนเกิดโรค

ในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นคุณค่าของการป้องกันมากเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ทั้ง ๆ ที่โรคมะเร็งถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยต่อเนื่องยาวนานถึง 20 กว่าปี รวมถึงโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างเช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคภูมิแพ้ โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เราเรียกกลุ่มโรคพวกนี้ว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD: Non-communicable disease) เป็นโรคที่ไม่สามารถติดต่อได้ แต่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล
 
อย่างที่ทราบกันว่า Wellness ถือเป็นเวชศาสตร์ป้องกันเชิงรุก ที่ใช้การตรวจพันธุกรรมผ่านการตรวจ DNA ของเรา เป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลความเสี่ยงทางสุขภาพที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล พอเรารู้ความเสี่ยงของโรค เราก็จะได้ระวังปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้เราเกิดโรคดังกล่าวขึ้นได้ เช่น ถ้าเรารู้ว่าตัวเองเสี่ยงเป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือว่าโรคมะเร็งปอด เราก็ไม่ควรอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่  เพราะเราอาจจะเป็นมะเร็งปอดก่อนคนสูบบุหรี่ได้ หรือถ้าเรารู้ว่ามีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งไทรอยด์ หรือมะเร็งอื่นๆ เพื่อที่เราจะได้หลีกเลี่ยงและระวังปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เราเป็นโรคได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

เราสามารถหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิด “ยีนความเสี่ยง” ที่ถูกถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมได้หรือไม่

"ยีน" เหมือนกับ "สูตร" ที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของเรา รวมถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคด้วย ถึงแม้เราเปลี่ยน "สูตร" ไม่ได้ แต่เราสามารถ "ทำอาหาร" จากสูตรนั้นให้ได้รสชาติที่ดีขึ้นได้ เปรียบเทียบง่าย ๆ คือ แม้ว่าเราจะมีพันธุกรรมที่เสี่ยงต่อโรคบางอย่าง แต่เราสามารถ ป้องกันไม่ให้โรคนั้นเกิดขึ้นได้ ด้วยการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น กินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

  • ยีน เป็นเหมือนตัวกำหนดความเสี่ยง แต่ ไม่ใช่ตัวกำหนดชะตาชีวิต ทั้งหมด

  • เราสามารถ ควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพได้ เช่น วิถีชีวิต การกินอาหาร การออกกำลังกาย

  • แม้จะมีพันธุกรรมที่ไม่ดี แต่ถ้าเราดูแลสุขภาพดี ก็สามารถ ลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคได้

ดังนั้น แม้เราจะเปลี่ยนแปลงยีนไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราได้ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

หsน้าปก-08-08.png

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็ง W9 Care Series

โปรแกรมตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคร้าย และ 21 โรคที่พบ
บ่อยจากกรรมพันธุ์ (Genetics) โดยใช้การตรวจดีเอ็นเอจากน้ำลาย
เพื่อให้คุณสามารถตรวจความเสี่ยงโรคร้ายแต่ละชนิดที่ส่งต่อมา
ทางพันธุกรรม เพื่อประเมินความเสี่ยงเปรียบเทียบกับประชากร
ชาวเอเชียโดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และสามารถปรึกษาแพทย์
เพื่อร่วมกันวางแผนจัดการกับความเสี่ยงในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
เหมาะสำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคร้าย
(Cancer in Family) หรือโรคเรื้อรังอื่นๆเช่น โรคอัลไซเมอร์,
โรคความจำเสื่อม และโรคหัวใจและหลอดเลือด

การตรวจรหัสพันธุกรรมที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด ซึ่งสามารถบ่งบอกกระบวนการทำงานของร่างกายในแต่ละบุคคล
และนำไปสู่การวางแผนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณได้

โปรแกรมตรวจมะเร็ง care series-01 (1).png

คุณสามารถวางแผนดูแลสุขภาพที่เหมาะกับตัวคุณเองได้อย่างตรงจุด

รวมถึงสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และ กลุ่มความเสี่ยงโรคที่พบบ่อย ซึ่งสามารถวางแผนดูแลสุขภาพที่เหมาะกับตัวคุณเองได้อย่างตรงจุด รวมถึงสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และ กลุ่มความเสี่ยงโรคที่พบบ่อย

✚  กลุ่มโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน ต่อมไทรอยด์ ไต กระเพาะปัสสาวะ
    อัณฑะต่อมลูกหมาก ถุงน้ำดี มดลูก เต้านม และรังไข่

✚  กลุ่มโรคทั่วไป ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
    โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคพาร์กินสัน ไมเกรน อัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดโป่งพองในสมอง โรคข้อเข่าเสื่อม
    โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคไขข้ออักเสบ

คำถามเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่พบบ่อย

ดูแลร่างกายดีมาตลอด มีโอกาสเป็นมะเร็งไหม?

โรคมะเร็ง นอกจากปัจจัยภายนอกอย่างการ
ใช้ชีวิตประจำวันและการเลือกรับประทานอาหารแล้ว

ยังสามารถเกิดจากพันธุกรรมหรือยีนส์จาก
ครอบครัวได้ เช่น หากคนในครอบครัวเคยเป็น
เราก็มีความเสี่ยงจะเป็นด้วยเช่นกัน 

ตรวจแล้วรู้เลยหรือไม่ว่าเสียงเป็นมะเร็งชนิดไหน?

เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง
ชนิดใด จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิฉัย
หรือทำการตรวจเพิ่มเติมก่อน

ใครบ้าง...ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็ง
 

  • ที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งทางพันธุกรรม

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากการได้รับหรือสัมผัสสารก่อมะเร็งเป็นประจำ

  • ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรักษา สามารถตรวจเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการรักษา และติดตามพัฒนาการของเนื้องอกหรือมะเร็งได้  

  • ผู้ที่ต้องการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำ หลังจากได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ

ตรวจคัดกรองมะเร็งที่ W9 Wellness

CARE SERIES ตรวจยีนเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดมะเร็งพันธุกรรม 13 ชนิด และโรคทั่วไปอีก 21 ชนิด ตรวจง่ายๆ ทาง (น้ำลาย)

ผลการเอ็กซ์เรย์

W9 Wellness Center อาคาร A ชั้น 3 โรงพยาบาลพระรามเก้า

ทางเลือกใหม่ต่อสู้มะเร็งด้วยธรรมชาติ

โปรแกรdมรักษา-02.png
โปรแกรมรักษา-01.png
โ2ปรแกรมรักษา-03.png
Untitled-1.png

W9 Wellness Center

line-white.png

ดับเบิลยูไนน์ เวลเนส เซ็นเตอร์

สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า

Call Us

Facebook

fanpage

Add Line

Instagram

Follow

เปิดทำการทุกวัน เวลา 8.00 - 17.00 น.

สาขา อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์

bottom of page