
ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม
เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่า ลำไส้ หรือระบบทางเดินอาหารทำหน้าที่แค่ “ย่อย” และดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้เท่านั้น
แต่ปัจจุบันเราพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ และเซลล์บริเวณผนังลำไส้บางชนิด มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันค่ะ
ทั้งภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (innate immune) และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive immune) นอกจากนี้ เซลล์บางชนิดในลำไส้ (enterochromaffin cells) ยังทำหน้าที่สร้าง สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin กว่า 80% ของทั้งหมดที่ร่างกายสร้างได้ ซึ่งมากกว่า
การผลิตออกมาจากสมองเสียอีก
ในบางรายที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน มีท้องผูกสลับท้องเสีย หรือบางคนที่มีอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ
ก็จะมีอาการร่วมกับอารมณ์แปรปรวนไปด้วยเช่นกัน เนื่องกระทบต่อการสารเซโรโทนิน ที่ร่างกายเราผลิตได้
อาการที่บ่งบอกว่าลำไส้ผิดปกติ
อาการที่หลายๆ คนก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเกี่ยวข้องกับระบบลำไส้โดยตรง อย่างเช่น เรื่องของท้องอืด ท้องผูกสลับท้องเสีย
ท้องเสียเรื้อรัง อย่างนี้เราจะรู้กันอยู่แล้วว่าเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ เราก็จะมาหาหมอ แต่ว่ามันก็จะมีอาการที่หลายๆ คนอาจจะไม่ได้กังวล หรือไม่ได้คิดเลยว่ามันจะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของลำไส้ ก็อย่างเช่น

-
เรื่องของอารมณ์ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เหวี่ยง
-
เรื่องของสิว ผิวมัน ก็อาจจะเกี่ยวข้องกับลำไส้ได้
-
เรื่องของอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น
ก็ควรจะมาเช็คด้วยนะคะ -
เรื่องของภาวะการอักเสบในร่างกาย ข้ออักเสบ
หรือว่าภูมิคุ้มกันที่บกพร่องไป ป่วยง่าย อาการแบบนี้
คนมักจะไม่รู้ว่าเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ด้วย
โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบลำไส้
โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของลำไส้เหมือนอย่างที่ Hippocrates ได้กล่าวไว้ว่า “All disease begins in the gut”
เมื่อ 2500 ปีที่แล้วซึ่งจริงๆ ตอนนี้ก็พบว่ามีหลายโรคที่เกี่ยวเนื่องกับลำไส้สำคัญๆ เลยที่เราเจอกันเยอะๆ ก็คือโรค NCDs
หรือ non-communicable diseases โรคเหล่านี้ เป็นปัจจัยหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับลำไส้
-
ระบบการเผาผลาญ เรื่องของฮอร์โมน แล้วก็เรื่องของหลอดเลือดต่างๆ
-
เรื่องของโรคข้ออักเสบ
-
เรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น สะเก็ดเงิน SLE หรือบางคนก็จะมีเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันที่มีความเกี่ยวข้องกับลำไส้โดยตรง
-
เรื่องของความจำ การหลงลืม อัลไซเมอร์ดีเมนเชีย จริงๆ แล้วมีความเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ด้วย
ดังนั้น อย่างที่บอกเลยว่า ถ้าเรามีโรคอะไรเกิดขึ้นมาหรือมีอะไรผิดปกติ อย่าลืม “เช็คลำไส้” ของเราด้วย
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพลำไส้และระบบทางเดินอาหารสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ W9 wellness center ได้เลยค่ะ


โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ ตัวช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ในงานวิจัยยุคใหม่ระบุว่า โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และยังเชื่อว่า
สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงโรคเกี่ยวกับสมอง โรคภูมิแพ้เกี่ยวกับผิวหนัง โรคซึมเศร้า ฯลฯ จากความเชื่อว่าเมื่อลำไส้ดี
ระบบการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายจะดีไปด้วย

ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ในมนุษย์ได้จำนวนหนึ่ง จากการศึกษาพวกเขาพบว่าแท้จริงแล้วประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้นี้มีความเชื่อมโยงกับสุขภาพของเราอย่างไม่น่าเชื่อ
แต่หากสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้รับความเสียหาย หรือเกิดไม่สมดุลกัน เช่น มีจุลินทรีย์บางชนิดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคต่างๆ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โรคหอบหืด ผิวหนังอักเสบ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน หรืออัลไซเมอร์เป็นต้น
โพรไบโอติกส์ (Probiotics)
เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตชั้นดีขนาดเล็ก พบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น การมีโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอในลำไส้
ช่วยให้เกิดความสมดุล และลดโอกาสการเกิดโรคได้ เช่น ลดการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด ดูแลระบบย่อย
อาหาร รักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย แก้อาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง
ท้องผูก หากลำไส้อ่อนแอ ระบบน้ำเหลืองที่เชื่อมโยงกันก็จะอ่อนแอ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง
พรีไบโอติกส์ (Prebiotics)
ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยการเผาผลาญ และต้านโรคบางอย่างได้เช่น โรคสมองจากโรคตับ, โรคอ้วนภาวะเบตาบอลิกซินโดรม,
ลดอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคมะเร็งลำไส้, เบาหวานชนิดที่ 2, โรคภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ


นอนไม่หลับ นอนหลับยาก อาจเกิดจากปัญหาในลำไส้
การนอนหลับช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น แต่การ นอนไม่พอ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอนกรน
ง่วงซึมมากระหว่างวัน ไม่มีสมาธิระหว่างการทำงาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน
ภาวะวิตกกังวล รวมถึงอุบัติเหตุ เป็นต้น

เมื่อก่อนเราจะรู้กันแค่ว่า “ลำไส้” ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ
“ย่อยอาหาร” แต่จริงๆ แล้วเนี่ย ลำไส้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนด้วย เนื่องจากลำไส้ของเรา สามารถสร้างสารสื่อประสาท
ที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้ถึง 80-90% ของ Serotonin
ที่ร่างกายเราสร้างได้ในร่างกายจึงเปรียบลำไส้เสมือนสมองที่
2 ของเราได้เลย
โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังก็คือจุลินทรีย์ในลำไส้นั่นเอง จุลินทรีย์
ในลำไส้มีมากถึง 100 ล้านล้านตัว หรือเทียบเป็นน้ำหนัก
ก็ประมาณ 2 กิโลกรัมเลยทีเดียว
ดังนั้น เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้เสียทำงานได้อย่างสมดุล ก็จะทำให้มีการสร้างสารที่ชื่อว่า Short Chain Fatty Acid หรือไขมันเส้นเล็กๆ มากระตุ้นการทำงานของเซลล์ในลำไส้ซึ่งชื่อว่า EC Cell (Enterochromaffin Cells) โดย EC Cell ก็จะทำงานในการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันแล้วก็เกี่ยวกับสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ด้วย
เมื่อไรที่ร่างกายของเรามีความไม่สมดุลในการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็จะทำให้สารเซโรโทนิน (Serotonin)
ทำงานได้ไม่สมดุลได้เหมือนกัน มีปัญหาได้อย่างเช่น

ปัญหาในการนอนหลับ
-
นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อย (หลับๆ ตื่นๆ)
-
หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
-
รู้สึกอ่อนเพลีย
-
ไม่มีสมาธิในการทำงาน ตื่นมาไม่สดชื่นแล้วก็นอน
ปัญหาในเรื่องของอารมณ์
-
หงุดหงิดง่าย
-
ซึมเศร้า
-
หรืออารมณ์แปรปรวนได้
แต่หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้สงสัยไว้ว่าเรากำลังมีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง นอนไม่พอ
และควรเข้ารับคำปรึกษา ที่ปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป


หลายคนน่าจะเคยรู้กันอยู่แล้วว่า หลังจากการติดเชื้อไวรัสจะยังมีอาการเหมือนป่วยอยู่ แม้ว่าเราจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
รักษาหายแล้วเกิน 28 วัน หรือเดือนนึงขึ้นไป จากรายงานการวิจัยหลายฉบับมีการระบุไว้ว่า 80% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการ
อ่อนเพลีย ปวดหัว ขาดสมาธิ ผมร่วง และหอบเหนื่อยมากที่สุด ฟื้นฟูได้ด้วย โพรไบโอติกส์

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ปัจจุบันมีอาหารที่มีโพรไบโอติกส์เป็นส่วนผสมมีอยู่มากมายหลายอย่าง และหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ เป็นต้น
การรับประทานโพรไบโอติกส์ให้เกิดประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด จะต้องรับประทานร่วมกับพรีไบโอติกส์ หรืออาหาร
ที่มีกากใยไฟเบอร์สูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์
ส่งเสริมให้จุลินทรีย์แข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
และโพรไบโอติกส์ยังช่วยเสริมความแข็งแรงพร้อมกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกหลายตัว ดังนั้น การเลือกรับประทานให้เหมาะ
กับร่างกายตัวเอง เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่น้อย เพราะถึงแม้จะเลือกเสริมโพรไบโอติกส์อย่างต่อเนื่อง แต่เป็นตัวที่ร่างกาย
มีเพียงพออยู่แล้ว ก็อาจจะไม่พบความเปลี่ยนแปลงอะไร หรือช่วยกระตุ้นความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันแต่อย่างใด ดังนั้น การเสริม
โพรไบโอติกส์ให้ตรงกับที่ร่างกายขาด และต้องการจริงๆก็เป็นอีก 1 ทางเลือก ที่ช่วยเสริมเกราะความแข็งแรงภูมิคุ้มกันให้ดียิ่งขึ้น